วันที่ 17 กันยายน 2562 สพ.ญ.กิตติวดี โชติปรายน ปศุสัตว์จังหวัดอุตรดิตถ์ นำทีมเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและสำนักงานปศุสัตว์อำเภอทุกอำเภอ จัดกิจกรรมรณรงค์วันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก ปี 2562 (World Rabies Day 2019) ภายใต้แผนยุทธศาสาตร์การดำเนินโครงการสัว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี ปี พ.ศ.2560-2563 ณ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีกิจกรรม ได้แก่ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การทำหมันสุนัขและแมว และการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าให้กับประชาชน ทั้งนี้ มีประชาชนให้ความสนใจ นำสุนัขและแมวมารับบริการทำหมัน รวมจำนวน 88 ตัว

 

 

โครงการฝึกซ้อมแผนเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ระดับจังหวัด

รูปแบบเฉพาะหน้าที่(Functional exercise) จังหวัดอุตรดิตถ์

วันที่ 23 สิงหาคม 2562 ณ หอประชุมอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุตรดิตถ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดโครงการฝึกซ้อมแผนเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ระดับจังหวัด รูปแบบเฉพาะหน้าที่ (Functional exercise) จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกรณีที่อาจเกิดการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยนายพิภัช ประจันเขตต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานเปิดโครงการ และสัตวแพทย์หญิงกิตติวดี โชติปรายน ปศุสัตว์จังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวรายงาน

โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

๑. เพื่อให้องค์ความรู้เกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรแก่ผู้เลี้ยงสุกรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

๒. เพื่อทดสอบและประเมินขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะด้าน รวมทั้งบทบาทที่ใช้ในการเผชิญกับสถานการณ์เกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร

. เพื่อให้มีมาตรฐานการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่ถูกต้อง

โดยมีผู้เข้าร่วมการฝึกซ้อมแผนฯ ประกอบด้วย

๑. คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร(War room) จังหวัดอุตรดิตถ์

๒. เจ้าหน้าที่จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ เจ้าหน้าที่ด่านกักกันสัตว์อุตรดิตถ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๓. เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในระดับอำเภอ

๔. ผู้ประกอบการฟาร์มสุกรและโรงฆ่าสุกร

รวมจำนวน ๑๒๓ คน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม 2562 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุตรดิตถ์ นำโดย สพ.ญ.กิตติวดี โชติปรายน ปศุสัตว์จังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์อำเภอทุกอำเภอและองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ จัดกิจกรรมในโครงการปศุสัตว์ร่วมใจกำจัดภัยโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานฯ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีนายสกุลไชย จูมทอง นายอำเภอตรอน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ กิจกรรมสำคัญภายในงานประกอบด้วย การควบคุมประชากรสุนัขและแมวโดยการผ่าตัดทำหมัน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การให้ความรู้ด้านการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับเจ้าของสัตว์ และประชาชนทั่วไป และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทั้งนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนประชาชนทั่วไป โดยมีเจ้าของสัตว์เลี้ยงนำสุนัขและแมวมารับบริการผ่าตัดทำหมันรวมทั้งสิ้น 55 ตัว แบ่งเป็นสุนัข 25 ตัว (เพศผู้ 11 ตัว เพศเมีย 14 ตัว) และแมว 30 ตัว (เพศผู้ 7 ตัว เพศเมีย 23 ตัว)

  

 

   

  

  


    

  

 

 

โครงการปศุสัตว์เคลื่อนที่เฉลิมพระเกียรติ

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 67 พรรษา

วันที่ 28 กรกฎาคม 2562 จังหวัดอุตรดิตถ์

 

วันที่ 24 กรกฎาคม 2562 ณ หอประชุมเทศบาลตำบลวังกะพี้ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานพิธีเปิดโครงการปศุสัตว์เคลื่อนที่ เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 67 พรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2562 จังหวัดอุตรดิตถ์ และกล่าวสดุดีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดย สพ.ญ.กิตติวดี โชติปรายน ปศุสัตว์จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นผู้กล่าวรายงาน และหัวหน้าส่วนราชการร่วมเป็นเกียรติ ได้แก่ พลตรีชัยเดช สุรวดี ผบ.มทบ.35 พ.ต.อ.ณัฐวุฒิ ภาคภูมิ รองผบก.ภ.จว.อุตรดิตถ์ นายธาตรี บุญมาก นายอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ นายพนม มีศิริพันธุ์ปศุสัตว์เขต 6 ปศุสัตว์จังหวัดและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานในพื้นที่ปศุสัตว์เขต 6 หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดอุตรดิตถ์

การดำเนินงานโครงการปศุสัตว์เคลื่อนที่เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอุตรดิตถ์ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 25 กรกฎาคม 2562 ในพื้นที่เป้าหมาย 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอตรอน และอำเภอพิชัยจำนวน 3 ตำบล จำนวน 26 หมู่บ้าน มีเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์มาขอรับบริการไม่น้อยกว่า 1,000 ราย  จำนวนสัตว์ที่จะได้รับบริการ 10,000 ตัว และโดยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของกรมปศุสัตว์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในพื้นที่ปศุสัตว์เขต 6 ร่วมปฏิบัติงาน โดยกิจกรรมประกอบด้วย การตรวจรักษาพยาบาลสัตว์ทั้งด้านอายุรกรรม สูติกรรม ศัลยกรรม การฉีดวัคซีนป้องกันโรค การกำจัดพยาธิภายในและภายนอก การเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจชันสูตรโรคสัตว์ การสำรวจสภาวะโรค การให้ความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าแก่นักเรียน สาธิตการแปรรูปผลผลิตจากสัตว์ เนื้อโคและเนื้อสุกร และการให้ความรู้คำแนะนำด้านปศุสัตว์ เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ประชาชน สามารถรับบริการได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

 

 

 

 

ประชุมศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร

(War room) จังหวัดอุตรดิตถ์

           วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. นายธนากร อึ้งจิตรไพศาล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ มอบหมายนายพิภัช ประจันเขตต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร(War room) จังหวัดอุตรดิตถ์ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ ณ ห้องประชุมตรอนตรีสินธุ์ ชั้น ๕ ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร(African Swine Fever: ASF)และขับเคลื่อนตามแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในประเทศไทย โดยการเตรียมความพร้อมของจังหวัดอุตรดิตถ์ มีการดำเนินการดังนี้

      ๑. จัดตั้ง War Room โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธาน ตามคำสั่งจังหวัดอุตรดิตถ์

ที่ ๓๗๗๕/๒๕๖๒

      ๒. การประกาศเขตเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ในสัตว์หรือซากสัตว์ ชนิดสุกรและหมูป่า ในทุกหมู่บ้าน ทุกตำบลและทุกอำเภอ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตามประกาศจังหวัดอุตรดิตถ์ ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๒

    ๓.ให้ความรู้แก่ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างในสังกัด ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด ให้มีความรู้ ความเข้าใจ โรค ASF อีกทั้งให้ ปศอ.แจ้งในการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านของอำเภอ และขอให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ช่วยประกาศให้ความรู้แก้ประชาชนในชุมชนผ่านเสียงตามสายของชุมชน

   ๔.ให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร โดยเฉพาะรายย่อยให้มีความรู้ ความเข้าใจโรค ASF ความร้ายแรง อาการ แนวทางป้องกัน หากพบอาการ แจ้งใคร อย่างไร

  ๕.ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร และแจ้งให้ผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรทั้งรายย่อย รายกลางและรายใหญ่ มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพขั้นสูงสุด และปรับระบบการเลี้ยงให้ได้มาตรฐาน

   ๖.ให้เจ้าหน้าที่ในระดับอำเภอ เฝ้าระวังทางอาการในพื้นที่ และทำรายงาน zero report เป็นรายสัปดาห์ แต่หากพบอาการตามนิยามให้รายงาน กรมปศุสัตว์ ทันที

   ๗.แจ้งพนักงานตรวจโรคสัตว์ประจำโรงฆ่าสัตว์(สุกร) เฝ้าระวังโรค ASF ในโรงฆ่าสัตว์โดยเข้มงวดในการตรวจสุกรมีชีวิตก่อนการฆ่าสัตว์และตรวจซากสุกรหลังการฆ่าสัตว์ หากกรณีสงสัยให้เก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

    ๘.ขอความร่วมมือผู้ประกอบการร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม โรงอาหาร หน่วยประกอบเลี้ยงและอื่นๆ ให้งดจำหน่าย จ่าย แจกเศษอาหารเหลือจากการรับประทานให้ผู้ที่นำไปเลี้ยงสุกร

    ๙. เข้มงวดการเคลื่อนย้าย

     - กรณีออกใบอนุญาต ก่อนการเคลื่อนย้ายต้องตรวจอาการและพ่นทำลายเชื้อโรคที่ยานพาหนะก่อนการเคลื่อนย้าย

   - กรณีเป็นปลายทาง ต้องตรวจอาการสัตว์ที่เคลื่อนย้ายเข้ามา พ่นทำลายเชื้อโรคยานพาหนะก่อนตรวจรับปลายทาง ตามระเบียบกรมปศุสัตว์

    ๑๐.กำหนดพื้นที่ในการฝังซากสุกร กรณีเกิดโรคระบาด